1. ความเป็นมาของอิฐ
2. คุณสมบัติของอิฐ
3. ขนาดอิฐก่อ อิฐก่อโชว์ และอิฐประดับรูปแบบต่างๆ
4. เทคนิคและกรรมวิธีในการติดตั้ง
5. การบำรุงและดูแลรักษา
6. การทดสอบคุณสมบัติของอิฐ
เป็นวัสดุที่นำมาใช้ด้านงานก่อสร้างเป็นเวลาช้านานมาแล้ว เมื่อสมัยโบราณประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว อียิปต์เป็นชาติแรกที่ใช้อิฐก่อผนัง ต่อมาพวกบาบิโลเนีย พัฒนาต่อมาเรื่อยๆ อิฐในสมัยโบราณจะทำมาจากดินเหนียว
สำหรับประเทศไทย อิฐมอญได้มากจากชาวมอญ ตั้งแต่ชาวมอญได้อพยพมาลงหลักปักหลักปักฐานบนผืนแผ่นดินไทยแล้ว อาชีพหลักของชาวมอญก็คือ ทำนา ทำไร่ ค้าขาย เข้ารับราชการ และ การทำเครื่องปั้นดินเผา รวมทั้งการทำอิฐ ซึ่งเป็นอาชีพที่ชาวมอญได้ทำมานานแล้ว และ มีความชำนาญมาตั้งแต่ในบ้านเมืองเดิมของตน
การทำอิฐสำหรับการก่อสร้างของคนไทยได้ทำกันมานานแล้ว โดยส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมครอบครัวในแถบชนบท ซึ่งมีขนาดเล็ก และอิฐที่ผลิตส่วนใหญ่เป็นอิฐมอญ ต่อมาได้มีการตั้งโรงงานใช้เครื่องจักรเข้ามาช่วยมากขึ้น โดยอิฐที่ทำการผลิตมีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ อิฐบล็อก อิฐมวลเบา อิฐโฟม อิฐแก้ว โดยเฉพาะการผลิตอิฐมวลเบาในปัจจุบันได้พัฒนาอิฐมวลเบา สามารถทนไฟได้ดี กันความร้อนได้
1 อิฐมอญ เป็นอิฐดินเผา มีแหล่งผลิตอยู่ที่สามโคก เนื้ออิฐมีสีแดงเข้ม ตัวอิฐเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีเนื้อแกร่งทนทาน อิฐมอญปัจจุบันมีขนาดเล็กต่างกว่าในอดีตมาก แต่คุณภาพของอิฐยังดีเหมือนเดิม ราคาไม่แพง ช่างก่อสร้างจึงนิยมใช้อิฐมอญกัน
อิฐมอญมีวิวัฒนาการตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบันมีลำดับดังนี้
อิฐมอญสามโคกรุ่นที่ ๑ ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประมาณปี พ.ศ.๒๒๐๓ มีขนาดใหญ่มาก กว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร
ยาวประมาณ ๔๐ เซนติเมตร หนาประมาณ ๑๓ เซนติเมตร ใช้ทำฐานรากโบสถ์ วิหาร กำแพง แทนเสาเข็มและใช้ทำถนน อิฐชนิดนี้บางแผ่นมีแปดรู เรียกว่าอิฐ ๘ รู มีความหมายถึงมรรคแปด
อิฐมอญสามโคกรุ่นที่ ๒ มีอายุอยู่ประมาณปี พ.ศ.๒๓๑๐ มีขนาดกว้าง ๑๔ เซนติเมตร ยาว ๒๖ เซนติเมตร หนา ๕ เซนติเมตร
อิฐมอญสามโคกรุ่นที่ ๓ มีอายุอยู่ประมาณปี พ.ศ.๒๓๒๕ มีขนาดกว้าง ๑๓ เซนติเมตร ยาว ๒๔ เซนติเมตร หนา ๔.๕ เซนติเมตร
อิฐมอญสามโคกรุ่นที่ ๔ มีอายุอยู่ประมาณปี พ.ศ.๒๔๑๕ มีขนาดกว้าง ๑๐ เซนติเมตร ยาว ๒๒ เซนติเมตร หนา ๔ เซนติเมตร
อิฐมอญสามโคกรุ่นที่ ๕ มีอายุอยู่ประมาณปี พ.ศ.๒๔๘๘ มีขนาดกว้าง ๙.๕ เซนติเมตร ยาว ๑๙ เซนติเมตร หนา ๔ เซนติเมตร
อิฐมอญสามโคกรุ่นที่ ๖ เป็นอิฐยุคปัจจุบัน มีขนาดกว้าง ๗ เซนติเมตร ยาว ๑๖ เซนติเมตร หนา ๓ เซนติเมตร
อิฐมอญสามโคกปัจจุบัน แผ่นเล็กลงแต่สะดวกในการก่อสร้าง มีการใช้อิฐมอญกันมาก จึงขายดี อาชีพทำอิฐยังนิยมทำอยู่ทั่วไปใน เขตอำเภอสามโคก ทำรายได้ดี
อิฐมอญตัน
2. อิฐบล็อก (อิฐ บ.ป.ก)
กิจการของบริษัทฯ เริ่มต้นจากอุตสาหกรรมในครอบครัว เมื่อปี พศ. 2487 ภายใต้ชื่อ โรงงานอิฐ บ.ป.ก. เฮ้งมุ่ยหลี ณ.ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบล บางปลากด อำเภอ ป่าโมก จังหวัด อ่างทอง ซึ่งเป็นแหล่งดินคุณภาพดีเหมาะแก่การทำอิฐและกระเบื้องดินเผาธรรมชาติและที่ตั้งของโรงงาน คือ ตำบล บางปลากดนี้ก็เป็นที่มาของตราสินค้า บ.ป.ก. ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับถึงคุณภาพที่ได้มาตรฐานในปัจจุบัน
อิฐบล็อก (อิฐ บ.ป.ก.)
คุณสมบัติของอิฐมอญ
ข้อดี
คือ มีความแข็งแรงและทนทาน มีความทึบเสียงสูง ต้านทานต่อไฟไหม้สูง สามารถเก็บรักษาอุณหภูมิภายในตัวโครงสร้างได้ดี มีความสวยงามเนื่องจากสามารถที่จะนำมาก่อสร้างให้มีรูปแบบใดๆได้ มีราคาค่อนข้างถูกและค่าบำรุงรักษาต่ำ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมากเท่าวัสดุชนิดอื่นๆ เช่น คอนกรีตและเหล็ก
ข้อเสีย
คือ เรื่องของน้ำหนักและเสียเวลามากในการทำงานก่อผนัง น้ำหนักของผนังก่ออิฐมอญรวมน้ำหนักอิฐ ปูนก่อ และปูนฉาบ มีน้ำหนักรวมกันค่อนข้างมาก ทำให้สิ้นเปลืองการเสริมเหล็กโครงสร้างอาคาร ขณะเดียวกันการเรียงก่ออิฐก้อนเล็กๆทีละก้อนก็ทำให้การก่อสร้างล่าช้า ใช้แรงงานมาก ทำให้ต้นทุนในการก่อสร้างเพิ่มมากขึ้นด้วย อิฐแบ่งตามคุณสมบัติได้ 2 ชนิดดังนี้
1. อิฐแบบธรรมดาผลิตจากส่วนผสมของดินเหนียว ทราย แกลบ และน้ำ
2. อิฐพิเศษมีการผสมสารหรือวัสดุพิเศษเพิ่มเพื่อการใช้งานเฉพาะด้าน เช่น อิฐทนไฟ
อิฐทนไฟ
อิฐก่ออิฐก่อโชว์และอิฐประดับรูปแบบต่างๆ
อิฐก่ออิฐก่อโชว์และอิฐประดับรูปแบบต่างๆ
เทคนิคและกรรมวิธีการก่ออิฐ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่
4.1. อิฐมอญ
4.1.1. รูปแบบการก่ออิฐ
1. ก่ออิฐเต็มแผ่น
ก่ออิฐเต็มแผ่น คือการก่ออิฐที่วางแผ่นอิฐ(มอญ) ตามขวางของผนัง ทำให้ ผนังนั้นมีความหนามากกว่าปกติ เมื่อฉาบปูนแล้วผนัง
นั้นอาจจะหนาประมาณ ๑๕ - ๒๐ เซนติเมตร
2. ก่ออิฐครึ่งแผ่น
ก่ออิฐครึ่งแผ่น คือ ก่ออิฐที่วางแผ่นอิฐ(มอญ) ตามยาวของ ผนัง ทำให้ผนังนั้นมีความหนาเป็นปกติที่เราเห็นกันโดยทั่วไป คือ
เมื่อฉาบปูนเสร็จ
การก่ออิฐครึ่งแผ่นและก่ออิฐเต็มแผ่น
4.1.2. เทคนิคและกรรมวิธีการก่อผนังอิฐมอญ
ขั้นตอนที่ 1 แช่น้ำให้อิฐดูดน้ำจนอิ่มตัว แล้วนำไปผึ่งให้หมาดๆ ขึงเอ็น หรือดีดบักเต้า เพื่อแสดงแนวผนังที่จะก่อ
แสดงกรรมวิธีการก่ออิฐ
ขั้นตอนที่ 2 เรียงอิฐให้สับหว่างกัน โดยก่อปูนหนาประมาณ 1.5-2.0 เซนติเมตร แนวขอบผนังที่ติดกับเสาต้องเสียบเหล็ก หนวดกุ้งขนาด 6 มิลลิเมตร ยาว 40-50 เซนติเมตรขั้นตอนที่ 3 ในการก่ออิฐแบบครึ่งแผ่น ควรมีเสาเอ็นทุก2เมตร หากผนังสูงเกิน กว่า1.5 เมตร ควรมีคานทับหลังด้วย
ขั้นตอนที่ 4 ผนังที่ก่อชนท้องคาน จะต้องเว้นช่องไว้ประมาณ 10 เซนติเมตร และทิ้งไว้จนปูนก่อแข็งตัวเสียก่อน ประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้ผนังที่ก่อไว้แล้วทรุดตัว จากนั้นจึงก่อเสริมโดยการเอียงอิฐทำมุม 30-45 องศา และใช้ปูนก่ออุดให้เต็ม
แสดงการก่ออิฐด้านบนโดยเว้นช่องไว้10ซม.
ขั้นตอนที่ 5 ควรทำการบ่ม โดยการรดน้ำให้ผนังชุ่มชื้นอยู่อย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 7 วัน
4.2. อิฐทนไฟ
1. พื้นที่ 1 ตรม. ใช้อิฐทนไฟขนาดมาตรฐาน ST 76 (230 x 115 x 76 มม.) ก่อโชว์แนวด้าน 230 x 76 มม.จะใช้อิฐจำนวน 58 ก้อน
2.การก่ออิฐทนไฟทั่วไปจะใช้ปูนทนไฟประมาณ 6% ของน้ำหนักอิฐที่ใช้
3.สำหรับอิฐฉนวนกันความร้อนจะใช้ปูนทนไฟประมาณ8%ของน้ำหนักอิฐที่ใช้
4.ความหนาของปูนทนไฟต้องไม่เกิน 2 มิลลิเมตร
5.1 สถานที่เก็บควรมีหลังคาและมีฝาผนัง เพื่อป้องกันน้ำฝนและความชื้น กองวัสดุก่อซ้อนกันบนพื้นที่ยกสูงเพื่อป้องกันน้ำไหลผ่าน
5.2 ควรกองแยกขนาด แยกประเภทในบริเวณพื้นที่ ที่ปลอดภัยจากสารเคมีน้ำมัน และบริเวณพื้นที่ ที่มีน้ำไหลผ่าน
สถานที่เก็บและการกองวัสดุก่อ
6.1.ทดสอบกำลังอัด
6.1.1 นำอิฐก่อสร้างสามัญประเภทที่หนึ่ง จำนวน 15 ก้อน ชั่งน้ำหนัก และวัดขนาด
6.1.2 นำตัวอย่างในข้อ 1 ชุบน้ำประมาณ 3-5 นาที จึงนำออก (เพื่อกันมิให้อิฐไปดูดน้ำปูนพลาสเตอร์)
6.1.3 ผสมปูนปลาสเตอร์กับน้ำให้มีความข้นเหลวพอสมควรนำไปทาบนแผ่นกระจกเรียบซึ่งจัดวางอยู่ในระดับก่อนแล้ว (ก่อนทาปูนพลาสเตอร์ควรทาน้ำมันหล่อลื่นก่อนป้องกันปูนพลาสเตอร์ติดกระจก)
6.1.4 ทาปูนปลาเตอร์ลงบนแผ่นอิฐที่หนึ่งแล้วนำแผ่นที่สองกดทับลงไปให้ได้ระดับ โดยมีความหนาระหว่างแผ่นอิฐประมาณ 5 มิลลิเมตร ตักปูนปลาสเตอร์ที่ล้นแผ่นอิฐออก ทำโดยวิธีเดียวกันนี้ครบ 5 แผ่น แล้วทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที
6.1.5 ทาปูนปลาสเตอร์บนแผ่นกระจกเรียบอีกแผ่นหนึ่งตามวิธีที่ได้กระทำในข้อ 3
6.1.6 ยกแผ่นอิฐที่ติดกันด้วยปูนปลาสเตอร์ทั้ง 5 แผ่น ออกจากกระจกแผ่นแรก พลิกกลับให้หน้าอิฐแผ่นบนวางกดลงบนปูนปลาสเตอร์ของกระจกแผ่นที่ 2 ให้ผิวปลาสเตอร์ข้างบนของแผ่นที่ 1 มีระดับขนานกับกระจกแผ่นที่ 2 ทิ้งไว้ 3 ชม.
6.1.7 เตรียมตัวอ่างอีก 2 ชุด โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับตัวอย่างชุดแรก ตามข้อ 1-6
6.1.8 ชั่งและวัดขนาดตัวอย่างอีกครั้ง ก่อนนำตัวอย่างแต่ละชุดเข้าเครื่องทดลองหาความต้านทานปรงอัดทางด้านแบนของแผ่นอิฐ โดยใช้อัตราการเพิ่มแรงอัดประมาณ 20 กก./ตารางเซนติเมตร ในระยะเวลา 1 นาที อ่านค่าแรงอัดทุกระยะการยุบตัวของตัวอย่างทุก ๆ 0.005 ม.ม. จนตัวอย่างวิบัติค่าแรงอัดลดลงอย่างต่อเนื่องคำนวณความต้านทานแรงอัดของอิฐแต่ละชุดพร้อมทั้งค่าเฉลี่ยของอิฐทั้ง 3 ชุด และหาค่าเฉลี่ยของอิฐแต่ก้อน
การหากำลังอัดสูงสุดของตัวอย่างโดยใช้สูตร
Óc = Pmax/AC , kg/cm2
6.2 การดูดซึมความชื่นและการหาความชื่นในอิฐ
6.2.1 นำอิฐที่ต้องการทดสอบจำนวน3ก้อน มาทำการชั่งน้ำหนักบันทึกค่า
6.2.2 นำอิฐที่ผ่านการชั่งมาแล้วมาทำการอบในเครื่องอบจนกว่าจะมีน้ำหนักคงมี
เมื่อน้ำหนักคงที่แล้วทำการชั่งน้ำหนักบันทึกค่า
6.2.3 นำอิฐที่อบแล้วไปแช่น้ำ24ชั่วโมง
6.2.4 นำอิฐที่แช่น้ำแล้วมาเช็ดให้ผิวนอกแห้งแล้วทำการชั่งน้ำหนักบันทึกค่า
หาปริมาณความชื้นของตัวอย่างโดยใช้สูตร
Moisture Content (%) = (W2)Original Weight – (W1) Oven dry Weight x 100(W1)
แสดงขนาดอิฐก่ออิฐก่อโชว์และอิฐประดับรูปแบบต่างๆ
แสดงขนาดอิฐก่ออิฐก่อโชว์และอิฐประดับรูปแบบต่างๆ