top of page

Conclusion

มาตราฐานของวัสดุที่เกี่ยวข้องกับวัสดุก่อ

พัตนาการของวัสดุ ความยั่งยืนและความสามารถทางการรีไซเคิล

มอก.

มอก.  เป็นคำย่อมาจาก"มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม"
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมวัสดุก่อและวัสดุที่เกี่ยวข้อง
      มอก.15 เล่ม1-2547 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เล่ม 1 ข้อกำหนดเกณฑ์คุณภาพ
      มอก.15 เล่ม 6-2521 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เล่ม 6 วิธีทดสอบหาความละเอียดของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์โดยเครื่องแอร์เพอร์มีอะบิลิตี
      มอก. 15 เล่ม 12-2532 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เล่ม 12 วิธีทดสอบความต้านแรงอัดของมอร์ตาร์ปูนซีเมนต์โฮดรอลิก
      มอก.15 เล่ม 14-2520 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เล่ม 14 วิธีทดสอบกาการขยายตัวของมอร์ตาปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์เนื่องจากซัลเฟต
      มอก.15 เล่ม 16-2535 ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เล่ม 16 การชักตัวอย่างและการยอมรับปูนซีเมนต์ไฮดรอลิก
      มอก.57-2533  คอนกรีตบล็อกรับน้ำหนัก
      มอก. 59 -2516  อิฐคอนกรีต
      มอก. 60-2516  คอนกรีตบล็อกเชิงตันรับน้ำหนัก
      มอก. 77 -2545  อิฐก่อสร้างสามัญ
      มอก. 102 -2517  อิฐกลวงรับน้ำหนัก
      มอก. 103 -2517  อิฐกลวงไม่รับน้ำหนัก
      มอก. 153 -2533  อิฐกลวงก่อแผงไม่รับน้ำหนัก
      มอก. 243-2520  วิธีชักตัวอย่างและทดสอบอิฐและอิฐกลวง
      มอก. 554 -2528  อิฐทนไฟฉนวน
      มอก.598-2547  ปูนก่อสำเร็จรูปชนิดแห้ง
      มผช. 601 -2547  อิฐมอญ
      มผช. 602- 2547  อิฐบล็อกประสาน
      มอก.1395-2554  บล็อกแก้ว
      มอก.1505-2541  คอนกรีตมวลเบา



เอเอสทีเอ็ม
เอเอสทีเอ็ม (ASTM International ในชื่อเดิมว่า American Society for Testing and Materials) เป็น สมาคมวิชาชีพ ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่กำหนด และจัดทำมาตรฐาน ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ และเป็นที่ยอมรับทั่วโลก

มาตรฐานป้องกันอัคคีภัย
ประเภทมาตราฐานสูงสุดของผนังไม่รับนํ้าหนัก
ประเภทของผนัง อัตราการทนไฟ (นาที)
      ผนังอิฐมอญ ก่อ 1/2 แผ่น ฉาบปูน 1.5-2 ซม สองด้าน อัตราการทนไฟ  60 นาที
      ผนังอิฐมอญ ก่อเต็มแผ่น ฉาบปูน 1.5-2 ซม สองด้าน  อัตราการทนไฟ  120นาที 
      ผนังอิฐบล็อคหนา 14 เซนติเมตร ฉาบปูน 1.5-2 ซม สองด้าน อัตราการทนไฟ  120นาที
      ผนังอิฐบล็อคหนา 19 เซนติเมตร ฉาบปูน 1.5-2 ซม สองด้าน อัตราการทนไฟ  180นาที
ที่มา : มาตรฐานป้องกันอัคคีภัย ของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย

มาตรฐาน International Building Code

เนื้อหาในมาตรฐานหลายส่วนนี้ได้อ้างอิงจากมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมโยธาแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (American Society of Civil Engineer, ASCE)  โดยเป็นระบบนานาชาติในส่วนวัสดุว่าด้วยมาตรฐาน 2003 IBC ในเนื้อหาส่วนที่ 2103

ราคาต่อหน่วย ทั้งตามท้องตลาด และราคาบังคับควบคุม จากสำนักดัชนีเศรษฐกิจ

ความยั่งยืน และความสามารถทางการรีไซเคิล

ระบบอุตสาหกรรมการก่อสร้างมักขึ้นอยู่กับค่าใช้จ่าย แต่เนื่องจากหลายๆ ปัจจัย
ประการแรก ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่จะคิดเพียงค่าใช้จ่ายแรกเริ่ม ที่ไม่เน้นในเรื่องระยะเวลาการใช้งานหรือความทนทานของวัสดุ เนื่องจากอาคารส่วนใหญ่ทุกวันนี้ ไม่ได้อยู่ออกแบบให้คงอยู่ยาวนานตลอดไป
ประการที่สอง ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ได้ถูกนำมาคิดถึง ความเสียหายของสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการผลิตและการขนส่งวัสดุ
การเลือกใช้วัสดุเพื่ออนุรักษ์พลังงาน มีข้อควรพิจารณาในเรื่องต่อไปนี้
1.  มวลสาร (Mass) ของวัสดุ ต้องเป็นวัสดุที่มีมวลสารน้อย เพื่อให้ค่าความดูดกลืนและสะสมความร้อนต่ำ ทำให้การถ่ายเทความร้อนเข้ามาในอาคารลดลง
2.  ค่าความต้านทานความร้อน (Thermal Resistance :R-Value) ต้องเป็นวัสดุที่มีค่าความต้านทานความร้อนสูง เพื่อป้องกันการถ่ายเทความร้อนเข้าไปในอาคาร
3. การดูดซับความชื้น ต้องเป็นวัสดุที่มีการดูดซับความชื้น

วัสดุผนังที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน ได้แก่

1.  ผนังก่ออิฐถือปูน เป็นวัสดุที่มีมวลสารมาก จึงดูดกลืนความร้อนสูง เหมาะสำหรับอาคารที่ไม่มีการติดตั้งระบบปรับอากาศ เพราะความร้อนที่สะสมไว้จะทำให้เครื่องปรับอากาศ ต้องใช้พลังงานเพื่อทำงานมากในการคายความร้อนออกมา นอกจากนี้ยังมีข้อเสียในเรื่องดูดซับความชื้นได้สูง
2.  ผนังระบบฉนวนกันความร้อนภายนอก (Exterior Insulation and Finished System :EIFS) ผนังระบบนี้มีมวลสารน้อย ไม่สะสมความร้อน มีค่าความต้านทานความร้อนสูง และกันความชื่นได้ดี ประกอบด้วยวัสดุหลายชนิดที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ทำให้ผนังมีหน้าที่แตกต่างกันไป โดยแบ่งได้เป็น 4 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ป้องกันความร้อนเข้าสู่อาคาร
ส่วนที่ 2 สร้างความแข็งแรงให้แก่ระบบผนัง
ส่วนที่ 3 เป็นวัสดุเคลือบภายนอก
  ส่วนที่ 4 เป็นวัสดุเคลือบผิวชั้นบนสุด เพื่อทนต่อทุกสภาพอากาศ
3.  ผนังคอนกรีตมวลเบา เป็นวัสดุที่สังเคราะห์จากวัสดุธรรมชาติ เช่น ทราย ปูนขาว ปูนซีเมนต์ ยิปซั่ม และสารกระจายฟองอากาศ มีน้ำหนักเบากว่าอิฐธรรมดา 2-3 เท่า แต่มีความแข็งแรง รับแรงกดได้มากประมาณ 30-80 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร มีคุณสมบัติเป็นฉนวน มีค่าความต้านทานความร้อนต่ำ ที่รู้จักกันดีและใช้งานในปัจจุบันคือ คิวคอน และซุปเปอร์บล็อค

        สังคมทุกวันนี้ เรียกได้ว่าเป็นสังคมแห่งการบริโภค มนุษย์ผลิตขยะปริมาณเฉลี่ย 1 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน ถ้าประชากรในประทศไทยมีจำนวนมากกว่า 60ล้านคน ดังนั้นในหนึ่งวันจะมีขยะเกิดขึ้นอย่างน้อย 60 ล้านกิโลกรัม ถ้าคิดเป็นมูลค่า ขยะ1 กิโลกรัม หากรีไซเคิลแล้วจะสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ประมาณ 8 บาท ถ้าเทียบกับจำนวนประชากรแล้วมีมูลค่าถึง 480 ล้านบาทต่อวัน

         การรีไซเคิล เป็นกระบวนการนำเอาสิ่งของที่ผ่านการใช้งานแล้วกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง อาจมีรูปแบบการใช้งานที่เหมือนเดิมหรือไม่ก็ได้  นอกจากเป็นการช่วยลดปริมาณขยะ และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดแล้ว ยังช่วยลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตของภาคอุตสาหกรรม มูลค่าของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสินค้าที่ได้มาจากการรีไซเคิลนั้นคิดเป็นต้นทุนที่ต่ำกว่าวัตถุดิบที่ได้มาจากทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างมาก
ในปัจจุบันการนำวัสดุรีไซเคิลมาเป็นส่วนประกอบในวัสดุก่อสร้างเพื่อแสดงความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น มีด้วยกันสองรูปแบบ ได้แก่ การนำกลับมาใช้ใหม่โดยไม่มีการแปรรูป กับการแปรรูปวัสดุแล้วนำไปเป็นส่วนผสมในวัสดุก่อสร้าง

      การนำกลับมาใช้ใหม่โดยไม่มีการแปรรูป คือการเปลี่ยนการใช้ประโยชน์ของเศษวัสดุนั้น โดยการนำมาประยุกต์ใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งร่วมกับโครงสร้างอาคาร ส่วนใหญ่มักจะนำมาเป็นส่วนประกอบของผนังอาคาร และนำมาใช้เป็นโครงสร้างอาคารบางส่วน ตัวอย่างเช่น
 

     การนำเอาเศษฟางข้าวที่เหลือหลังจากฤดูเก็บเกี่ยวมาอัดเป็นก้อนแล้วนำไปติดตั้งเป็นผนังอาคารทั้งฟางข้าวยังมีสมบัติเป็นฉนวนความร้อนด้วย

          การนำเอาขวดน้ำพลาสติกใสมาประกอบเป็นผนังอาคารด้วยสมบัติโปร่งแสงของเนื้อวัสดุจึงทำให้พื้นที่ว่างภายในได้รับแสงสว่างอย่างเพียงพอในช่วงวันอีกทั้งช่องว่างระหว่างขวดน้ำยังช่วยในการระบายอากาศ

         การนำทรายมาอัดใส่เข้าไปในช่องว่างของยางรถยนต์แล้วนำมาติดตั้งเป็นผนังรับน้ำหนัก จากนั้นทำการฉาบทับด้วยดินผสมซีเมนต์ ลักษณะผนังที่มีความหนามากจึงให้ผลในการควบคุมอุณหภูมิภายในอาคารได้ดี บ้านที่มียางรถยนต์เป็นส่วนประกอบ จะมีราคาถูกกว่าบ้านที่สร้างด้วยวัสดุปกติถึงร้อยละ 40

          การนำท่อกระดาษมาใช้เป็นโครงสร้างของอาคารเรียนของเด็กประถมในเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศจีนเมื่อปี 2008   การแปรรูปวัสดุแล้วนำไปเป็นส่วนผสมในวัสดุก่อสร้าง ตัวอย่างเช่น   การนำเศษแก้วมาใช้แทนทรายในการผลิตใยแก้วซึ่งจะถูกนำไปทอเป็นฉนวนกันความร้อน และฉนวนป้องกันเสียง   การนำเศษพลาสติกจากบรรจุภัณฑ์มาเป็นส่วนผสมของ Thermal Poly Rock (TPR) ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นวัสดุผสมยึดติดกับโครงสร้างหลักของอาคารในรูปแบบของผนังภายนอก มีน้ำหนักเบา เป็นฉนวนความร้อน กันน้ำ และไม่ลามไฟ บ้านที่สร้างด้วยผนัง TPR จะมีราคาถูกกว่าบ้านที่สร้างด้วยวัสดุปกติถึงร้อยละ 12  การนำเศษโฟมผสมกับซีเมนต์และทรายในการผลิตอิฐมวลเบาผสมโฟม

        โฟม ในวงการก่อสร้างมักนำมาใช้เป็นฉนวนกันความร้อน ส่วนใหญ่แล้วโฟมที่นำมาใช้ในแวดวงก่อสร้างแบบกรีนๆจะเป็น EPS Foam (Expanded Polystyrene Foam) ที่ให้ความคงทนแข็งแรงกว่าโฟมใส่อาหารทั่วไป มีค่านำความร้อนต่ำกว่าผนังชนิดอื่นจึงเป็นฉนวนกันความร้อนในตัว บ้านที่ใช้โฟมชนิดนี้ก็จะเย็นสบายกว่าบ้านที่ไม่ใช้ฉนวนกันความร้อนเลย บ้านที่มีโฟมเป็นฉนวนกันความร้อน ก็อาจจะเปิดแอร์น้อยลง หรือเปิดที่อุณภูมิที่สูงขึ้น ทำให้ลดการใช้พลังงานและประหยัดค่าไฟได้ ส่วนบ้านที่ไม่ได้เปิดแอร์บ่อยนัก ก็อาจจะไม่ได้ประหยัดค่าไฟอย่างเห็นได้ชัด แต่ก็จะได้บ้านที่อยู่สบายมากขึ้น  โฟม นอกจากจะกันความร้อนแล้วยังป้องกันความชื้นจากน้ำ ช่วยแก้ปัญหาน้ำรั่วซึมจากผนังในช่วงฤดูฝน  ส่วนบ้านใครที่อยู่ใกล้ถนนหรือแหล่งชุมชนที่มีเสียงรบกวนเข้ามาในบ้าน โฟมฉนวนยังช่วยดูดซับเสียงที่จะผ่านเข้าสู่ภายในบ้านให้น้อยลง แถมยังใช้งานได้ยาวนานและมีราคาถูกกว่าฉนวนชนิดอื่นๆ

        โดยทั่วไปแล้วคนมักนิยมติดโฟมฉนวนเข้ากับผนังก่ออิฐก่อนฉาบปูนทับบนผิวโฟมอีกชั้น วิธีนี้ใช้ได้กับทั้งบ้านสร้างใหม่และบ้านเก่าสร้างเสร็จแล้ว เพราะว่าช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของงานต่อเติมโครงสร้างเนื่องจากโฟมน้ำหนักเบา ไม่จำเป็นต้องเพิ่มโครงสร้างเพิ่มเติม หรือใช้โฟมที่อยู่ในรูปของเม็ดโฟมเป็นส่วนผสมคอนกรีตในงานพื้นหรือก่อผนังแทนการใช้หินอย่างที่เราคุ้นเคย ทำให้ได้คอนกรีตน้ำหนักเบา   ข้อเสียที่คนมักรังเกียจว่าโฟมย่อยสลายยาก กลับกลายเป็นข้อดีในฐานะวัสดุก่อสร้างแนวกรีน เพราะบ้านต้องอยู่กับเรานานหลายสิบปี เราก็ต้องการให้ฉนวนกันความร้อนนั้น อยู่กับบ้านให้นานที่สุด โดยที่ไม่ต้องมีการเปลี่ยนหรือทำใหม่ให้สิ้นเปลืองงบประมาณหรือทรัพยากร

 

        การระเบิดภูเขาหรือสกัดหินออกมาใช้งานนั้นใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีก็ได้แผ่นหินลวดลายสวยงามมาไว้ในบ้านแล้ว แต่ลองนึกดูว่ากว่าจะเป็นภูเขาลูกหนึ่งต้องอาศัยเวลาเป็นล้านปีๆ ด้วยวิธีทางธรรมชาติผ่านการทับถมของแร่ธาตุ ชั้นดิน แต่เราใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีระเบิดภูเขา โดยลืมอาจจะลืมคำนึงไปว่าสิ่งที่เรานำมาจากธรรมชาตินั้น จะสร้างผลกระทบที่มองเห็นและมองไม่เห็นกับโลกนี้อย่างไร ตั้งแต่ปัญหาเรื่องฝุ่นจนถึงทิศทางลมและสภาพอากาศที่เปลี่ยนไปจากการทำลายเขาลูกนั้น

ในปัจจุบัน บริษัทที่ผลิตหินเทียม จึงโปรโมทหินของตนว่า เป็นวัสดุตกแต่งแนวกรีน เพราะในกระบวนการผลิต ไม่ได้มีการทำลาย        

        ธรรมชาติเหมือนหินแท้ แต่หินเทียม หรือ synthetic stone มักจะเกิดจากการนำผงหินมาผสมกับ man-made materials หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอื่นๆ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า วัตถุที่ได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเคมีนั้น สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากเพียงไร
ผู้บริโภคคงต้องตัดสินใจเองว่าจะเลือกใช้วัสดุที่มีผลกระทบกับธรรมชาติด้านไหน เพราะทั้งสองทางเลือกต่างมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
        ในปัจจุบัน ด้วยการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในกระบวนการผลิตวัสดุก่อสร้างจากวัสดุรีไซเคิล จึงทำให้ราคาในท้องตลาดของวัสดุก่อสร้างในกลุ่มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนี้ ยังคงมีราคาใกล้เคียงกับวัสดุก่อสร้างจากการผลิตตามปกติ แต่เมื่อใดก็ตามที่ผู้บริโภคตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน และหันกลับมาให้การสนับสนุนสินค้าในกลุ่มนี้ให้มากยิ่งขึ้น

 

หินแท้ หินเทียม

ราคาต่อหน่วย ทั้งตามท้องตลาดและราคาบังคับควบคุม จากสำนักดัชนีเศรษฐกิจฯ ทั้งนี้รวมไปถึงการกำกับต้นทุนต่อหน่วยของวัสดุชนิดนั้นๆด้วย
ราคาวัสดุก่อ ส่วนกลางปี 2555 จังหวัดกรุงเทพมหานคร ตามที่สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

ตารางแสดงราคาวัสดุก่อสร้าง ส่วนกลางปี 2555 จังหวัดกรุงเทพมหานคร 
หมายเหตุ: เป็นราคาเงินสด ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่รวมค่าขนส่ง

คอนกรีตบล๊อกก่อผนัง ขนาด 19 x 3 x 7 ซม.
1) iTTblock ราคาก้อนละ 4.30 บาท
2) ร้านโตเจริญพร ราคาก้อนละ 5 บาท
3) ร้านจิตติพรค้าวัสดุ 5.30 บาท

อิฐมอญขนาด 7 x 16 x 3.5 ซม.
1)บริษัท โปรเกรส แมกซิมั่ม จำกัด ราคาก้อนละ 0.95 บาท
3)อาร์ แอนด์ ยู เทรดดิ้ง ราคาก้อนละ 0.59 บาท
4)บริษัท เฉลียวค้าวัสดุก่อสร้าง จำกัด ราคาก้อนละ 0.70 บาท

คอนกรีตบล๊อกก่อผนังมวลเบา ขนาด 20x 60x 7.5 ซม.
1) CRG CEMENT  ราคาก้อนละ 18.50 บาท
2) บริษัท แจ้งวัฒนะกรุ๊ป จำกัด  ราคาก้อนละ 19.50 บาท
3) Onestockhome ราคาก้อนละ 22.33 บาท

อิฐแก้ว(บล๊อคแก้ว)
1) บริษัท โตเจริญพร ราคาก้อนละ 60 บาท
2) บุญถาวร ราคาก้อนละ 70 บาท
3)ห้างหุ่นส่วนจำกัด ไลท์ แอนด์ บาธ ราคาก้อนละ 60 บาท

ตัวอย่างวิธีการคิดวัสดุก่อสำหรับผนังก่ออิฐ ½ แผ่น ในพื้นที่ 1 ตร.ม.
1) การคิดพื้นที่ของการก่อผนังทั้งหมด สมมุติให้พื้นที่เป็น  1 ตร.ม.
2) หาจำนวนวัสดุแต่ละชนิด (อ่านจากตารางการคิดงานก่ออิฐ)
พื้นที่ของผนังก่ออิฐ ½ แผ่น ใช้อัตตราส่วน 1: 1: 3
ปูนซีเมนต์ 11 กิโลกรัม
ปูนขาว 0.008 ลูกบาศก์เมตร
ทรายหยาบ 0.024 ลูกบาศก์เมตร
นำตัวเลขจากตารางมาคิดจำนวนวัสดุที่ใช้ต่อพื้นที่ ซึ่งสมมุติให้มีพื้นที่ก่ออิฐ 1 ตร.ม. สามารถคิดได้ดังนี้
ปูนซีเมนต์ =1 x 36 =36 กิโลกรัม
คิดเป็นจำนวนปูน = 36/50 = 1 ถุง (1ถุง = 50 กิโลกรัม)
ปูนขาว = 1x 0.008 =0.008 ลูกบาศก์เมตร
ทรายหยาบ =1x 0.024 =0.024 ลูกบาศก์เมตร
  สรุปว่าใช้วัสดุ   ปูนซีเมนต์  1 ถุง  = 128.5045 (50 กิโลกรัม =128.5045 บาท)
    ปูนขาว  0.008 ลูกบาศก์เมตร
   ทรายหยาบ 0.024 ลูกบาศก์เมตร(427.12 บาท/ลบ.ม.)

ข้อได้เปรียบ/เสียเปรียบในการใช้งานวัสดุ

bottom of page