top of page

1. ประวัติบล็อกดินซีเมนต์ และบล็อกประสาน

2. คุณสมบัติของบล็อกประสาน

3. ขนาดบล็อกประสาน

4. เทคนิคและกรรมวิธีในการติดตั้ง

5. การบำรุงและดูแลรักษา

6. การทดสอบคุณสมบัติบล็อกประสาน

          เป็นบล็อกที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วท.) ได้พัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510 รวมเป็นระยะเวลานานกว่า 30 ปี โดยนายสุทธิศักดิ์ สำเร็จประสงค์ ซึ่งเป็นวิศวกรของสถาบันฯ ได้ทำการศึกษาค้นคว้าวัสดุที่จะทดแทนไม้ในการก่อสร้างบ้านเรือน และพบว่าสามารถนำดินลูกรังมาผสมกับปูนซีเมนต์และน้ำในสัดส่วนที่เหมาะสม อัดเป็นแท่งด้วยแรงคนแบบเดิมที่เรียกว่า เครื่องซินวาแรม (cinva-ram) จนกระทั่งก่อเกิดอุตสาหกรรมการผลิตขึ้นภายในหมู่บ้านและชุมชน และช่วยลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งเป็นทรัพยากรอันมีค่าของประเทศไทย   ได้นำบล็อกดินซีเมนต์ไปทดลองก่อสร้างอาคารหลังแรกที่สถานีกสิกรรม อำเภอโนนสูง

จังหวัดนครราชสีมา เมื่อปี พ.ศ. 2511 จากนั้นก็มีการพัฒนาวิจัยอย่างต่อเนื่องจนออกมาเป็นบล็อกประสาน

ที่ใช้ในการก่อสร้างบ้านเรือน อาคาร ฯ ในปัจจุบัน

1.มีขนาดมาตรฐาน ทำงานก่อได้แนว ไม่เปลืองปูนฉาบ
2.น้ำหนักเบากว่า 2 เท่า ทำงานได้สะดวก
3.ไม่ซึมน้ำมากกว่า เพราะผิวมีโพรงอากาศ แบบไม่ต่อเนื่องกัน
4.การหดตัวเมื่อแห้งน้อยมาก เมื่อเทียบกับอิฐมอญ จึงไม่เกิดรอยร้าวที่ปูนฉาบ
5.ปลอดภัยกว่าสำหรับผู้อยู่อาศัย และใช้เป็นผนังกันไฟได้ตามกฎหมาย
6.กันความร้อนได้ดีกว่า รักษาอุณหภูมิในห้องให้คงที่
7.ไม่นำ-สะสมความร้อน สามารถลดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการทำความเย็นลงได้ถึง 60%
8.ประหยัดพลังงาน ประหยัดแอร์ ประหยัดไฟ
9.สามารถกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี

4. เทคนิคและกรรมวิธีในการติดตั้ง

          อุปกรณ์ในการก่อสร้างอาคารบล็อกประสาน
1. บัวรดน้ำ
2. ค้อนยาง
3. สายเอ็น ปักเต้า ลูกดิ่ง ระดับน้ำ
4. สายยางน้ำ หรือกล้องระดับ
5. ทราย หรือที่ยาแนว หรือดินลูกรังยาแนว
6. ถุงมือ
7. เครื่องตัดเหล็กไฟฟ้า
8. สว่านไฟฟ้า
          วิธีผสมปูนหยอด
1. ร่อนทรายละเอียดผสมปูนซีเมนต์ อัตราส่วน ปูนซีเมนต์ : ทราย = 1:2 โดยน้ำหนัก
2. ผสมน้ำจนเหลวเป็นครีมโดยที่น้ำไม่แยกชั้นกับเนื้อปูนทราย
3. ใส่น้ำปูนในถังฝักบัวที่ถอดหัวฝักบัวออก ก่อนหยอดน้ำปูนควรกรอกน้ำลงในรูที่บล็อกชุ่มน้ำ และกรอกน้ำปูนลงในรูบล็อกให้เต็มทุกรูอย่าให้ล้น
4. ในกรณีที่น้ำปูนรั่ว ให้ใช้ทรายแห้งกำใส่มือหรือใช้ฟองน้ำบิดให้หมาด อุดบริเวณที่รั่วทิ้งไว้ประมาณ 30 วินาที
5. ทำความสะอาดผนังในจุดที่เปื้อนปูน โดยใช้น้ำล้างหรือฟองน้ำ ชุบน้ำเช็ด ก่อนที่น้ำปูนจะแห้งติดผนัง
          ปูนซีเมนต์สำหรับงานบล็อกประสาน
คือปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์(ปูนโครงสร้าง) จะให้ก้อนบล็อกประสานมีความแข็งแกร่ง ทนการกัดกร่อนของน้ำได้ดี
          ขั้นตอนการก่อสร้างอาคารด้วยบล็อกประสาน
1) การทำฐานราก และส่วนต่อเนื่อง  โดยปกติจะไม่มีการเตรียมยื่นเหล็กจากพื้น เพื่อสอดในผนังบล็อกประสาน ยกเว้นส่วนเสา

    บล็อกประสานที่ภายในเป็นเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือเสาบล็อกกลวงจะยื่นเหล็กขึ้นมาช่วยยึด ภายในเสา

2) เมื่อถึงขั้นตอนการก่อบล็อก ทำโดยวางผังดึงแนวเอ็นตามแนวผนังห้อง และตำแหน่งเสา
3) หาระดับสูงต่ำบริเวณที่จะก่อบล็อก
4) วางบล็อกตัวยู ด้านล่าง เรียงตามแนวผนังห้องจนเต็มตามรูปแบบที่ต้องการ โดยพยายามวางเรียงให้ชิดกันเหมือนงานก่อจริง
5) กำหนดจุดที่จะเสริมเหล็กในแนวตั้ง ตามแบบก่อสร้าง จุดตัดของผนังหรือเสา ในแนวผนัง เสริมเหล็ก 9 มม.ทุก 1 เมตร

    ยาวประมาณ 1 เมตร หรือตามระยะฝังถึงใต้วงกบ จะไม่เสริมเหล็กยาวถึงสุดผนัง
6) ใช้สว่านเจาะพื้นตามตำแหน่งเหล็กที่จะเสริม
7) ก่อบล็อกทำระดับให้ก้อนแรกสูงเท่ากันทั้งหลัง
8) วาง เรียงบล็อกตามแนวเอ็น และดิ่งให้ได้ระดับที่ต้องการ โดยส่วนใหญ่ชั้นที่จะหยุดหยดน้ำปูนจะเป็นชั้นที่เรียงบล็อกร่องยูพอดี

    ที่ระดับใต้วงกบ เพื่อป้องกันรอยแตกร้าวในผนัง
9) ผสมน้ำปูนทรายสำหรับหยอดลงในรู อัตราส่วน ปูนต่อทราย 1 ต่อ 2 สำหรับอาคารที่ออกแบบเป็นบล็อกรับน้ำหนักโครงสร้าง และ

    อัตราส่วน 1 ต่อ 3 สำหรับอาคารที่ออกแบบเป็นบล็อกตกแต่ง เติมน้ำให้มีความเหลวสามารถไหลได้ แต่น้ำปูนไม่แยกตัวกับทราย

    ที่อัตราส่วน ปูนต่อน้ำ W/C ratio 0.80
10) ใช้สายยางรดน้ำก้อนบล็อกให้ดูดน้ำจนชุ่ม เพื่อป้องกัน บล็อกดูดน้ำในน้ำปูนจนแห้งปิดรู
11) ใช้กระป๋องบัวรดน้ำที่ถอดฝักบัวออก ในการหยอดน้ำปูน
12) ก่อน หยอดน้ำปูน เขย่ากระป๋องบัวที่ใส่น้ำปูนเพื่อไม่ให้ทรายตกตะกอน หยอดลงในรูจนเกือบเต็ม เว้นให้น้ำปูนอยู่ต่ำกว่าระดับผิวรู  

    เพื่อให้วางบล็อกชั้นถัดไปได้
13) ในกรณีที่น้ำปูนรั่วออกตามร่อง ให้ใช้ทรายแห้งปิดรูไว้ น้ำปูนจะดูดกับทรายแห้งปิดรูเองตามธรรมชาติ
14) เมื่อ หยอดน้ำปูนเสร็จ ให้ใช้ฟองน้ำเช็ดรอยน้ำปูนที่รั่ว และทรายที่อุดรูไว้ออกจนสะอาด ไม่ใช้สายยางฉีดล้าง เพราะแรงน้ำจะทำให้

    น้ำปูนที่อยู่ในรูไหลออกมาด้วย
15) รอให้น้ำปูนแห้งอย่างน้อย 2-3 ชม.ก่อน เรียงชั้นต่อไป ในขั้นนี้จะเสริมเหล็กแนวตั้งเมื่อเรียงบล็อกได้ถึงระดับที่ต้องการ

    ใช้เหล็กเส้นต่อไปผูกด้วยลวดผูกเหล็กให้ได้ระยะทาบเหล็กประมาณ 30เซนติเมตร จากเหล็กเส้นเดิมพอดี
16) ชั้นบนสุดใช้บล็อกร่องยู เรียงเป็นคานทับหลัง เสริมเหล็กนอน ยึดผนังทั้งหลังให้เชื่อมต่อกันเป็นผืนเดียว จุด นี้อาจตัดเหล็กแนวตั้ง

    ให้เสมอพอดีขอบผนังเพราะไม่ต้องการระยะทาบแล้ว ยกเว้นส่วนที่ต้องการยึดโครงหลังคาให้ยื่นเหล็กเผื่อออกมาตามต้องการ
17) ส่วนโครงสร้างหลังคาก่อสร้างตามปกติ

1. วิธีการบ่ม
บ่มให้ครบ1วัน โดยไม่ควรตากแดด แล้วจัดเรียงแล้วคลุมด้วยพลาสติก ไม่ให้ไอน้ำระเหยออก

แล้วบ่มด้วยความชื้นทิ้งไว้ 7 วัน โดยให้มีความชื้นตลอดเวลาแต่อย่าให้ชุ่มน้ำมากจนเกินไป

จัดเรียงแล้วคลุมด้วยผ้าพลาสติก

2. ชั้นวางบล็อกสด
หลังการผลิตสามารถลดระยะเวลาและแรงงานในการเรียงบล็อก ขนาดไม่ควรกว้างเกิน 50 ซม.

เพื่อให้สะดวกในการวาง ไม่ต้องเอื้อม ติดล้อเลื่อน เพื่อสามารถเคลื่อนย้ายไปสู่พื้นที่บ่มได้สะดวก

รูปแสดง ชั้นวางบล็อกสด

3. ชั้นวางบล็อกสำหรับการขนส่ง หรือพาเล็ท
ใช้ในกรณีที่มีรถเฮี๊ยบ(รถยก) หรือรถลากไฮดรอลิก(ตะเฆ่) จะช่วยให้ขนส่งได้สะดวก ประหยัดค่าแรงในระยะยาว

รูปแสดง ชั้นวางบล็อกสำหรับการขนส่ง หรือพาเล็ท

          เนื่องจากดินในการทำบล็อกประสานแต่ละแหล่งจะมีคุณสมบัติต่างๆที่ไม่เหมือนกัน ดินบางประเภทเหมาะสมต่อการใช้งาน แต่บางประเภทที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน ถ้านำมาใช้จะทำให้ต้นทุนการผลิตสูง หรือเมื่อผลิตออกมาแล้วจะได้บล็อกประสาน

ที่ไม่แข็งแรง
          ประเภทการทดสอบคุณสมบัติบล็อกประสาน   มีดังนี้
1.การทดสอบด้วยตนเอง
1) นำดินหรือวัตถุดิบที่ต้องการ ใส่ในขวดใสครึ่งขวด แล้วเติมน้ำให้เต็ม ปิดฝาเขย่าให้เข้ากัน วางบนโต๊ะแล้วขีดเส้นด้วย

    ปากกาเมจิกที่ระดับดินที่ตกตะกอนทันที
2)  ตั้งทิ้งไว้จนตกตะกอนทั้งหมดจนน้ำใส ขีดเส้นบนสุดอีกเส้น หาร้อยละของตะกอนฝุ่นที่ตกตะกอนที่หลังไม่เกินร้อยละ 35

    โดยปริมาตร หรืออิฐมวลละเอียด ต้องตกตะกอนได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 65 โดยปริมาตร ถือว่ามีคุณภาพดี ใช้ผลิตบล็อกประสาน

    ได้ด้วยอัตราส่วน ปูนซีเมนต์ : ดิน  ประมาณ 1 : 6   ถ้าเนื้อมวลละเอียดอยู่ระหว่างร้อยละ 35-50 ก็ส่งมาทดสอบดินโดยละเอียด

    เพื่อหาส่วนผสมที่แน่นอนต่อไป
2.การทดสอบในห้องปฏิบัติการ
    การทดสอบทดสอบในห้องปฏิบัติการเป็นการทดสอบอย่างละเอียดเพื่อหาขนาดคละโดย วิธี (Sieve Analysis) ตามมาตรฐาน ASTM D421, D1140 เพื่อตรวจสอบว่าขนาดคละของดินที่ใช้มีขนาดเหมาะสมหรือไม่ ถ้าไม่เหมาะต้องปรับปรุงอย่างไร

 

          ข้อคำนึงการทดสอบคุณสมบัติบล็อกประสาน
1.กำลังต้านทางแรงอัดของบล็อก ไม่น้อยกว่า 70 กก. แรง/ตร.ซม. ค่าเฉลี่ยของบล็อก5 ก้อน ที่อายุ 28 วัน
2.กำลังต้านทานแรงอัดของบล็อก ไม่น้อยกว่า 55 กก. แรง/ตร.ซม. แต่ละก้อน
3.การดูดซึมน้ำของบล็อก ไม่มากกว่าร้อยละ 15 ของน้ำหนักก้อน
4.ความทนทานในการรับน้ำหนัก หลังจากการทดสอบเปียก และอบแห้ง 6 รอบ ค่าความต้านทานแรงอัดควรเพิ่มขึ้นจากเดิม

    ไม่น้อยกว่า ร้อยละ15

bottom of page