top of page

1. คอนกรีตมวลเบา หรืออิฐมวลเบา

การริเริ่มคิดค้นการผลิตคอนกรีตมวลเบา เกิดขึ้นจากแนวคิดการนำวัสดุที่มีnnอยู่มาพัฒนาให้เป็นวัสดุ ก่อสร้างชนิดใหม่ ที่มีความสามารถในการทำงานได้ดีกว่าเดิม เช่น มีความแข็งแกร่ง, น้ำหนักเบา, ใช้งานง่ายและสะดวก



2. คุณสมบัติของอิฐมวลเบา

3. ขนาดของอิฐมวลเบา

4. เทคนิคและกรรมวิธีในการติดตั้ง

5. การบำรุงและดูแลรักษา

6. การทดสอบคุณสมบัติอิฐมวลเบา

2.1 คุณสมบัติทางกายภาพ อิฐมวลเบา หนาคุ 10 เซนติเมตร เมื่อรวมน้ำหนัก

วัสดุรวมปูนฉาบจะหนัก 120   กิโลกรัม ทำให้ต้นทุนโครงสร้างลดลง

2.2.  การกันความร้อน หากเป็นกรณีปกติ “อิฐมวลเบา”จะมีค่าการนำความร้อนที่ต่ำกว่าอิฐมอญประมาณ 8-11 เท่า แต่การก่อผนังภายนอกอิฐจะต้องมีความหนา 10 เซนติเมตร และผนังภายในหนา 7 เซนติเมตร ขึ้นไป จึงจะสามารถกันความร้อนได้ดี
2.3.  การกันเสียง โครงสร้างของอิฐมวลเบามีฟองอากาศเป็นจำนวนมากอยู่ภายในทำให้ดูดซับเสียงได้ดี จึงเหมาะสำหรับห้องหรืออาคารที่ต้องการความเงียบ เช่น โรงภาพยนตร์หรือห้องประชุม
2.4.  การกันไฟ อิฐมอญก่อ 2 ชั้นมีฉนวนตรงกลาง (ช่องว่างตรงกลาง) จะกันไฟได้ดีกว่าอิฐมวลเบาเล็กน้อย และทนไฟที่ 1,100 องศาเซลเซียส ได้นานกว่า 4 ชั่วโมงซึ่งนานกว่าอิฐมอญ 2-4 เท่า ทำให้จะช่วยจำกัดความเสียหายในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ได้
2.5 . ความแข็งแรง การใช้งานทั่วไปไม่ต่างกัน แต่ผนังอิฐมอญจะเหมาะสำหรับการใช้วัสดุกรุผนังที่มีน้ำหนักมาก เช่น หินแกรนิต หรือหินอ่อน
2.6.  น้ำหนักเบาและรับแรงกดได้ดี เนื่องจากโครงสร้างของอิฐมวลเบาที่ประกอบไปด้วยฟองอากาศจำนวนมาก ซึ่งจากคุณสมบัติข้อนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถประหยัดต้นทุนในการ ก่อสร้างได้มาก
2.7. ประหยัดพลังงาน เนื่องจากสามารถกันความร้อนได้ จึงใช้เครื่องปรับอากาศที่มีขนาดเล็กลงได้ ช่วยประหยัดค่าไฟไปได้มาก กันความร้อนได้ดี จึงช่วยลดการถ่ายเทความร้อนจากภายนอก สู่ภายในอาคารได้เป็นอย่างดี ช่วยลดค่าไฟฟ้าได้ถึง 30%
2.8.  ใช้งานง่าย และรวดเร็ว เนื่องจากการผลิตที่เป็นมาตรฐานทำให้สินค้าที่ออกมาเท่ากันทุกก้อน ทำให้การก่อสร้างใช้เวลาในการก่อและเกิดการสูญเสียน้อย โดยเฉลี่ยแล้วภายใน1 วันการก่อผนังโดยใช้อิฐมวลเบาจะได้พื้นที่ 25 ตรม.  ไม่ต้องอาศัยความชำนาญของช่าง สามารถตัด แต่ง เลื่อย ไส เจาะ ฝังท่อระบบได้โดยใช้เครื่องมือเฉพาะที่  ใช้งานง่าย และหาซื้อได้ทั่วไป นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดวัสดุอื่นๆ เช่น ปูนฉาบด้วย เนื่องจากสามารถก่อฉาบได้บางกว่าช่วยจำกัดความเสียหายในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้ได้
2.9.  มิติเที่ยงตรง ขนาดมิติเที่ยงตรง แน่นอน ได้ชิ้นงานที่เรียบ สวยงาม มีหลายขนาดให้เลือก ประหยัดวัสดุ และ แรงงานในการก่อ ฉาบ
2.10. อายุการใช้งาน ยาวนานเท่าโครงสร้างคอนกรีต เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ได้แก่  ปูนซีเมนต์ ทราย ปูนขาว ยิปซั่ม สารกระจายฟองและเหล็กเส้น จึงมีอายุการใช้งานยาวนาน  ซึ่งส่วนผสมส่วนใหญ่ คือ ดิน

4.1. การผสมปูนก่อ
      1. ใช้ปูนก่อสำหรับก่อบล็อคมวลเบา ผสมในสัดส่วน ปูนก่อ 2.5 ส่วน ต่อน้ำ 1 ส่วน โดยปริมาตร
       2. ใช้น้ำสะอาดในการผสมปูนก่อ ไม่ควรใช้น้ำสกปรก หรือมีกรดเจือปนมาผสม
       3. ควรผสมปูนก่อให้พอเหมาะ กับการใช้งาน 
4.2. ขั้นตอนการก่อสร้างอาคารด้วยคอนกรีตมวลเบา
     1. ก่อนทำการก่อต้องตรวจดูแบบก่อนเสมอ สำหรับในบริเวณที่ทำการก่อผนังอิฐมวลเบา 
      2. ทำความสะอาดบริเวณที่จะทำการก่ออิฐมวลเบาให้เรียบร้อย ทำการปรับวางแนวดิ่ง แนวฉากของการก่อ หลังจากนั้นใช้แปรงสลัดน้ำพอชุ่มในบริเวณที่จะทำการก่อ 
       3. เริ่มการก่อชั้นแรก โดยการใช้ปูนทรายในการปรับระดับ โดยให้มีความหนาของปูนทรายประมาณ 3-4 ซม.
       4. ผสมปูนก่ออิฐมวลเบา กับน้ำสะอาด โดยใช้หัวปั่นปูน ตามคำแนะนำในหัวข้อ สัดส่วน การผสมปูน

        5. ก่อก้อนแรกโดยให้ป้ายปูนก่อบริเวณด้านข้างเสาและด้านล่างก้อน  ด้วยเกรียงก่ออิฐมวล เบา 
        6. เริ่มก่อขั้นแรก โดยใช้ค้อนยางปรับให้ได้ระดับตามแนวเอ็นที่ระดับตามแนวเอ็นที่ขึงไว้ และใช้ระดับน้ำในการช่วยจัดให้ได้ระดับ
         7. ก่อก้อนที่สอง โดยใช้เกรียงก่อ ป้ายปูนก่อด้านข้างและด้านล่างของก้อน โดยให้มีความหนา 2-3 มม. และปรับระดับด้วยค้อนยางให้ได้ระดับเดียวกัน หลังจากนั้นก่อก้อนต่อไปเรื่อย ๆ ด้วยวิธีการเดิมจนครบแนวก่อชั้นแรก เมื่อจำเป็นต้องตัดตัวก้อนอิฐมวลเบา ให้วัดระยะให้พอดี และใช้เลื่อยตัดอิฐมวลเบาในการตัดตัวก้อน โดยหากตัดแล้วไม่เรียบหรือไม่ได้ฉาก ให้ใช้เกรียงฟันปลาไสแต่งตัวก้อน และถ้าต้องการขัดอย่างละเอียดเพื่อให้ตัวก้อนเรียบมากขึ้น ให้ใช้เกรียงกระดาษทรายขัดให้เรียบขึ้นได้
        8. ก่อชั้นต่อไปโดยต้องก่อในลักษณะสลับแนวระหว่างชั้น และมีการขึงแนวก่อนการก่อ โดยแนวที่เหลื่อมกันมีระยะไม่น้อยกว่า 10 ซม. แต่ละก้อนให้ป้ายปูนก่อรอบก้อน หนา 2-3 มม. ซึ่งต้องใส่ปูนก่อให้เต็มตลอดแนวและหากใช้ไม่เต็มก้อนให้ใช้เลื่อยตัดให้ได้ขนาดตามที่ต้องการ
      9. ปลายก้อนที่ก่อชนเสาโครงสร้าง หรือเสาเอ็นจะต้องยึดด้วยแผ่นเหล็กยึดแรง Metal strap ที่งอฉาก ยาวประมาณ 15-20 ซม. เข้ากับโครงสร้างด้วยตะปูคอนกรีต หรือพุกสกรู ทำเช่นนี้ทุกระยะ 2 ชั้น ของก้อน
      10. ก่อก้อนถัดไปด้วยวิธีการเดียวกับชั้นแรก จนจบแนวชั้นที่สอง จากนั้นก็ก่อชั้นต่อๆ ไปด้วยวิธีการเดียวกันจนแล้วเสร็จข้อกำหนดการใช้เสาเอ็นทับหลัง ค.ส.ล.

การเก็บรักษา เก็บในที่ร่ม ปราศจากความชื้น ควรมีวัสดุรองพื้นก่อนเก็บกอง

          มีระบบตรวจสอบ และควบคุมคุณภาพมาตรฐานอุตสาหกรรมไทยมอก.109,  มอก. 1505-2541 :ชิ้นส่วนคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ,มาตรฐานมอก. 1505-2541 ชั้นคุณภาพ 2 ชนิด 0.5
     6.1.  การทดสอบหาคุณสมบัติกำลังรับแรงอัด
         6.1.1  นำคอนกรีตมวลเบามาตัดให้เป็นสี่เหลียมลูกบาศก์ที่มีขนาด 10 x 10 x 10 cm  ติดตั้งตัวอย่างในเครื่องทดสอบแรงอัด โดยตัวอย่างต้องอยู่ในแนวแกนของแรงที่กระทำ
         6.1.2 ติดตั้ง Dial Gauge ที่ตำแหน่งกึ่งกลางของตัวทดสอบ2ด้าน และปรับค่าเริ่มต้นที่ศูนย์
        6.1.3เพิ่มแรงให้ตัวที่ทดสอบอย่างต่อเนื่อง และอ่านค่าแรงที่กระทำเมื่อตัวอย่างเริ่มมีการเสียรูป หลังจากนั้นเพิ่มแรงไปเรื่อยๆ จนตัวอย่างทดสอบเกิดการวิบัติและอ่านค่าแรงสูงสุดก่อนที่จะเกิดการวิบัติ บันทึกค่าการเสียรูปที่จุดวิบัติ
    6.2.  การทดสอบการดูดซึมน้ำของคอนกรีตมวลเบา
        6.2.1 นำตัวอย่างคอนกรีตมวลเบาแช่ในน้ำทิ้งไว้เป็นเวลา 24 ชั่วโมง นำขึ้นมาเช็ดผิวหน้าให้แห้งแล้วชั่งน้ำหนัก
        6.2.2 นำคอนกรีตมวลเบาไปอบในเตาอบที่อุณหภูมิ 100 องสาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมงแล้วนำมาชั่งหาน้ำหนักแห้ง
         6.2.3 คำนวณหาการดูดซึมน้ำของคอนกรีตมวลเบา จากร้อยละของปริมาณน้ำที่คอนกรีตมวลเบาดูดซึมต่อน้ำหนักแห้งของคอนกรีตมวลเบา

bottom of page