1. คอนกรีตบล็อก
คอนกรีตบล็อก หรือ อิฐบล็อก (Concrete Block) เป็นวัสดุก่ออีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศ โดยมีลักษณะเป็นก้อนสี่เหลี่ยมขนาดโดยประมาณ 20 x 40 ซม. หนาระหว่าง 7 – 20 ซม. ซึ่งลักษณะของการใช้งานก่ออิฐจะก่อเหมือนงานอิฐมอญ แต่จะมีข้อดีกว่า คือ สามารถที่จะก่อได้เร็วกว่า และมีขนาดที่มาตรฐานกว่า ทำให้สามารถที่จะทำการประมาณการจำนวนของวัสดุได้ง่ายกว่า และเมื่อรวมค่าแรงในงานก่อสร้างแล้วจะถูกกว่า
2. คุณสมบัติของคอนกรีตบล็อก
ข้อดี
เมื่อเทียบกับการก่ออิฐสามัญที่ความหนาของผนังเท่ากัน จะประหยัดวัสดุก่อได้มากกว่า ร้อยละ 50 เพราะมีขนาดก้อนใหญ่ เนื้อพรุนสีเทา ตรงกลางคอนกรีตบล๊อกจะกลวงเป็นช่องๆมีน้ำหนักเบากว่าอิฐมอญ
ข้อเสีย
รับน้ำหนักมากหรือน้ำหนักแขวนมากไม่ได้ เปราะแตกง่าย จึงไม่เหมาะกับบ้านที่คิดจะเดินซ่อน ท่อไฟ ท่อประปาในผนัง ยกเว้นเดินลอย หรือเน้นประหยัดงบ เอาไปทากาแพงรั้ว หรือผนังโรงงานมากกว่ากันความร้อนได้ไม่ดีเท่าอิฐมวลเบา
3. ขนาดของคอนกรีตบล็อก
ขนาดคอนกรีตบล็อกแบบมอก. 58 – 2533
ขนาดคอนกรีตบล็อกรูปแบบทั่วไป
4. เทคนิคและกรรมวิธีในการติดตั้ง
ส่วนผสมของปูนก่อ
1.ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน (1 ตร.ม. ใช้ 6.75 กก.)
2. ทรายหยาบ 4 ส่วน (1 ตร.ม. ใช้ 0.03 ลบ.ม.)
3. ปูนขาว 1 ½ ส่วน(1 ตร.ม. ใช้ 3.9 กก.) แต่ปัจจุบันมักนิยมใช้น้ำยาเคมีแทนปูนขาว
4. น้ำสะอาด 5 ลิตร
หมายเหตุ: ปริมาณสำหรับการก่อคอนกรีตบล็อก ขนาดความหนา 0.07 ม.
ข้อสังเกต: เมื่อเทียบกับการก่ออิฐสามัญที่ความหนาของผนังเท่ากันจะประหยัดวัสดุก่อได้มากกว่าร้อยละ50
5. การบำรุงและดูแลรักษา
นําไปอัดในเครื่องอัดแบบเหล็กให้แน่น แล้วนําออกไปเรียงบ่มในที่ร่มประมาณ 7 – 14 วัน
ก่อนนําไปใช้งาน
การดูแล หลังจากการผลิต
- เก็บรักษาไว้ในที่ร่มประมาณ 12 ชม.
- หลังจากนั้นนำอิฐดินซีเมนต์ไปบ่มโดยวางซ้อนกัน
- ใช้ผ้า กระสอบ ฟาง หรือวัสดุอื่นๆ คลุม
- รดน้ำให้ชุ่มทุกวัน ใช้เวลาประมาณ 7 วัน
- ต้องจำให้ได้ว่าอิฐดินซีเมนต์ก้อนไหนครบกำหนดการใช้งาน ก่อนก็นำอิฐซีเมนต์ก้อนนั้นไปใช้ก่อน
6. การทดสอบคุณสมบัติคอนกรีตบล็อก
การทดสอบคุณสมบัติคอนกรีตบล็อกให้กระทำโดยการตรวจพินิจ
1. ความต้านแรงอัดและการดูดกลืนน้ำของคอนกรีตบล็อกรับน้ำหนักเมื่อส่งถึงที่ก่อสร้างต้องเป็นไปตามตาราง ที่ 3การทดสอบให้ปฎิบัติตาม มอก.109
2. ปริมาณความชื้น (เฉพาะคอนกรีตบล็อกรับน้ำหนักประเภทควบคุมความชื้น) เมื่อส่งถึงที่ก่อสร่างต้องเป็นไปตามตารางที่ 2
3. เครื่องหมายและฉลาก
ที่คอนกรีตบล็อกรับน้ำหนักทุกก้อนอย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่ายชัดเจน
1. ประเภท
2. ชั้นคุณภาพ
3. ชื่อผู้ทําหรือโรงงานที่ทําหรือเครื่องหมายการค้าในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยทีกําหนดไว้
4. ชักตัวอย่าง
การชักตัวอย่างและเกณฑ์ตัดสินให้เป็นไปตามแผนการชักตัวอย่างที่กำหนดต่อไปนี้หรืออาจใช้แผนการชักตัวอย่างอื่นที่เทียบเท่ากันทางวิชาการกับแผนที่กําหนดไว้การชักตัวอย่างให้เป็นไปตาม มอก.109