top of page

1. อิฐแก้ว หรือ บล็อกแก้ว

2. คุณสมบัติพิเศษของบล็อกแก้ว

3. ขนาดของอิฐแก้ว

4. เทคนิคและกรรมวิธีในการติดตั้ง

5. การบำรุงและดูแลรักษา

6. การทดสอบคุณสมบัติบล็อกแก้ว

1. การยอมให้แสงผ่าน (Light Transmission)
          แสงสว่างสามารถผ่านบล็อกแก้วได้  โดยระดับการยอมให้แสงสว่างผ่านขึ้นอยู่กับคุณภาพของเนื้อแก้วลวดลาย  สีสัน  และประเภทของบล็อกแก้ว  เช่น บล็อกแก้วชนิด Transparent ยอมให้แสงสว่างผ่านได้ 75% ชนิด Non-Transparent ยอมให้แสงสว่างผ่านได้ 50-70% และชนิด Color ยอมให้แสงสว่างผ่านได้ 40%
2. การรับกำลังอัด (Compressive  Strength)
          บล็อกแก้วเกิดจากชิ้นแก้วที่มีความหนา  จึงทำให้คุณภาพในการรับแรงอัด (Compression) ได้มากกว่า 7 Mpa. (7.14 ksc) ซึ่งมากกว่าอิฐมอญถึง 2.5 เท่า
3. การทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว (Thermal  Insulation)
          บล็อกแก้วได้รับการทดสอบให้แช่อยู่ในน้ำร้อนเป็นเวลา 12 นาที แล้วนำไปแช่ในน้ำเย็นในอุณหภูมิ

ต่างกัน 25 องศาเซลเซียสทันที นาน 1 นาที พอว่าบล็อกแก้วไม่เกิดการแตกร้าว  และไม่เกิดการสูญเสีย

กำลังใดๆ
4. น้ำหนักเบา (Light  Weight)
          น้ำหนักโดยเฉลี่ยบล็อกแก้วอยู่ระหว่าง 60-80 กิโลกรัม/ตารางเมตร  ซึ่งเบากว่าวัสดุก่อสร้างชนิดอื่น

ที่มีความทนทานใกล้เคียงกัน เช่น ผนังก่ออิฐ  การทำความสะอาดบล็อกแก้วสามารถทำได้ง่าย  เพียงเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำยาเช็ดกระจกหรือน้ำเปล่าเท่านั้น  จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาต่ำไม่ต้องทาสีซ้ำเหมือนผนังชนิดอื่น
5. เป็นฉนวนป้องกันแสง (Sound  Resisting)
          จากกระบวนการผลิต  ซึ่งจะมีการเชื่อมบล็อกแก้วเข้าด้วยกันขณะที่ยังร้อน  เมื่อเย็นตัวลงภายใน

บล็อกแก้ว จะมีคุณสมบัติเป็นกึ่งสุญญากาศสามารถลดความดังของเสียงจากภายนอกได้ถึง 45 เดซิเบล

          อิฐแก้ว หรือ บล็อกแก้ว เป็นชิ้นแก้วหนาทรงสี่เหลี่ยมที่ใสและโปร่งแสง  สามารถนำมาใช้ติดตั้งเป็นผนังหรือพื้นได้หลากหลายรูปแบบทั้งภายในและภายนอกอาคาร เช่น ใช้เป็นช่องแสงบริเวณต่างๆ เป็นผนังกั้นระหว่างห้อง หรือตกแต่งรอบรั้วอาคาร เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ได้แก่ การป้องกันเสียง

ไฟ ความร้อน ทนทาน ทำความสะอาดง่าย  และยังให้ความสวยงามโดดเด่นอีกด้วย   ที่สำคัญแสงสว่างที่ผ่านบล็อกแก้วเข้ามาภายในอาคาร  ทำให้เราสามารถลดและประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น

​รูปแสดง บล็อกแล้วกันเสียง

6.  เป็นฉนวนป้องกันความร้อน
          ความร้อนจากแสงอาทิตย์เป็นปัจจัยสำคัญ  เมื่อเทียบกับผนังบล็อกแก้วกับหน้าต่างที่จะติดกระจกธรรมดา  พบว่าผนังบล็อกแก้วจะให้แสงที่นุ่มนวลโดยจำกัดความร้อนจากแสงอาทิตย์  โดยความร้อนจะสามารถผ่านเข้าได้เพียง 60% และจะไม่เกิดการสะสมความร้อนที่ตัวบล็อกแก้วเหมือนผนังอิฐมอญ  อีกทั้งยังป้องกันไฟไหม้ได้ด้วย  จากการทดลองคุณสมบัติการทนไฟตามมาตรฐาน DIN 4102  บล็อกแก้วจะมีคุณสมบัติป้องกันไฟใน ระดับ G 60 หรืออาจจะสูงถึง G 120

          เหมาะสำหรับการก่อสร้างบ้านหรืออาคารทั่วไป  สามารถใช้ตกแต่งได้ทุกบริเวณและรูปแบการตกแต่งที่ต้องการ  โดยเฉพาะในบริเวณที่ต้องการแสงสว่างจากธรรมชาติ  และสามารถใช้ตกแต่งประยุกต์ร่วมกับ

วัสดุก่อสร้างผนังชนิดอื่นได้


          วิธีการก่อบล็อกแก้วมี  2  วิธี ได้แก่
1. การติดตั้งด้วยปูนกาว
2. การติดตั้งโดยใช้ซิลิโคน

วิธีซ่อมแซมผนังอิฐแก้วเฉพาะที่


ขั้นตอนที่ 1
          ใช้เหล็กสกัดและค้อนเคาะอิฐแก้วที่แตกร้าวออกจากผนังรวมทั้งเศษปูนที่ติดอยู่โดยรอบ

ทั้งนี้ต้องระวังอย่าให้โดนก้อนข้างๆให้เกิดความเสียหายแล้วใช้แปรงปัดฝุ่นและแก้วให้สะอาด

รูปแสดงการสกัดอิฐแก้วที่แตกร้าวออกจากผนัง

ขั้นตอนที่ 2
          ผสมปูนซีเมนต์เทา ปูนขาว และทราย ในอัตราส่วน 1 : 1 : 4 ใส่น้ำพอประมาณคลุกผสม

ให้เข้ากันจนปูนพอหมาดโบกปูนที่ขอบภายในช่องทั้ง3 ด้าน ยกเว้นด้านบน ให้มีความหนา

เท่าขอบปูนของเดิม

รูปแสดง โบกปูนที่ขอบอิฐแก้ว

ขั้นตอนที่ 3
          ตักปูนใส่ขอบบนของอิฐแก้วก้อนใหม่ปาดปูนให้มีความหนาพอดีกับช่องค่อยๆ ใส่อิฐแก้วเข้าไปในช่อง โดยใช้เกรียงช่วยรองและดันอิฐแก้วเข้าแล้วจึงเคาะให้เข้าที่ในระนาบเดียวกับก้อนอื่นๆ

รูปแสดง ใส่อิฐแก้วเข้าไปในช่อง

ขั้นตอนที่ 4
          ปาดปูนซีเมนต์ส่วนเกินออก โบกทับช่องว่างให้เต็ม และใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดเศษปูนที่ผิวแก้วให้ สะอาด ทิ้งไว้รอให้ปูนแห้งเซ้ทตัว 1 วัน จึงค่อยใช้ปูนยาแนวแต่งยาแนวของรอยต่อให้เหมือนเดิม

รูปแสดง  ปาดปูนซีเมนต์ส่วนเกินออก

1. ทดสอบคุณสมบัติการยอมให้แสงผ่าน (Light Transmission)
          พิจารณาว่าแสงสว่างสามารถผ่านบล็อกแก้วได้  โดยระดับการยอมให้แสงสว่างผ่านขึ้นอยู่กับคุณภาพของเนื้อแก้ว  ลวดลาย  สีสัน  และประเภทของบล็อกแก้ว  เช่น บล็อกแก้วชนิด Transparent ยอมให้แสงสว่างผ่านได้ 75% ชนิด Non-Transparent ยอมให้แสงสว่างผ่านได้ 50-70% และชนิด Color ยอมให้แสงสว่างผ่านได้ 40%
2. ทดสอบคุณสมบัติการรับกำลังอัด (Compressive  Strength)
          บล็อกแก้วเกิดจากชิ้นแก้วที่มีความหนา  จึงทำให้คุณภาพในการรับแรงอัด (Compression) ได้มากกว่า 7 Mpa. (7.14 ksc) ซึ่งมากกว่าอิฐมอญถึง 2.5 เท่า
3. ทดสอบคุณสมบัติการทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว (Thermal  Insulation)
          บล็อกแก้วได้รับการทดสอบให้แช่อยู่ในน้ำร้อนเป็นเวลา 12 นาที แล้วนำไปแช่ในน้ำเย็นในอุณหภูมิต่างกัน 25 องศาเซลเซียสทันที นาน 1 นาที พบว่าบล็อกแก้วไม่เกิดการแตกร้าว  และไม่เกิดการสูญเสียกำลังใดๆ
4. ทดสอบคุณสมบัติของน้ำหนัก
          น้ำหนักโดยเฉลี่ยบล็อกแก้วอยู่ระหว่าง 60-80 กิโลกรัม/ตารางเมตร  ซึ่งเบากว่าวัสดุก่อสร้าง

ชนิดอื่นที่มีความทนทานใกล้เคียงกัน เช่น ผนังก่ออิฐ

bottom of page